Open top menu
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนผังงาน
ความหมายของผังงาน
          ผังงาน (Flowchart)  คือแผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่าขั้นตอนนั้น ๆ  มีลักษณะการทำงานแบบใด  และแต่ละขั้นตอนจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยลูกศรเพื่อแสดงลำดับการทำงาน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าในการทำงานนั้น ๆ  มีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร
 
ประโยชน์ของผังงาน
1. ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใด ๆ
    ได้อย่างรวดเร็ว
2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบ
    ไม่สับสน นอกจากนี้ผังงานยังเป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแแกรม
    กล่าวคือ จากผังงานเดียวกันสามารถนำไปเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ได้
 
ประเภทของผังงาน
1. ผังงานระบบ (System flowchart)  เป็นผังงานซึ่งแสดงขอบเขต  และลำดับขั้นตอนการทำงานของ ระบบหนึ่ง ๆ รวมทั้งแสดงรูปแบบของข้อมูลนำเข้า (input)  และข้อมูลออก (output) ว่าถูกรับเข้าหรือแสดงผลโดยผ่านสื่อประเภทใด เนื่องจากผังงานระบบเป็นแผนภาพที่แสดงถึงระบบโดยรวม ดังนั้นกระบวนการหรือ โปรแกรมหนึ่ง ๆ  อาจถูกแสดงเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในผังงานระบบเท่านั้น
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)  เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
          การเขียนผังงาน เป็นการเขียนแผนภาพเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงาน โดยนำภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในการเขียนผังงานนั้น หน่วยงานที่ชื่อว่า American National Standards Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) ได้ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงานดังแสดงในตาราง
โครงสร้างของภาษาซี       
                      ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน ซึ่งมีรูปแบบของโครงสร้างโปรแกรม ดังนี้

รูปแสดงโครงสร้างของภาษาซี  
                1.  ส่วนของการประกาศส่วนหัวของโปรแกรม

                         หรือที่เรียกว่า เฮดเดอร์ไฟล์ (Header File) เป็นการเรียกใช้เฮดเดอร์ไฟล์เข้ามาร่วมใช้งานภายในโปรแกรม โดยไฟล์เฮดเดอร์เป็นไฟล์ที่ใช้ในการรวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้ เช่น ภายในเฮดเดอร์ไฟล์  stdio.h  เป็นไฟล์เฮดเดอร์ที่รวบรวมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นมาตรฐานทางด้านการรับข้อมูล (Input)  และแสดงผลข้อมูล (Output) ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่น printf( );  เป็นฟังก์ชั่นในการแสดงผลข้อมูล ซึ่งบรรจุอยู่ในไฟล์  stdio.h  เป็นต้น

                2.  ส่วนของชื่อฟังก์ชั่น

                         ในที่นี้ ฟังก์ชั่นที่กำหนดขึ้นมาชื่อฟังก์ชั่น  main()  โดยทุกโปรแกรมจะต้องมี
ฟังก์ชั่น  main() ทำหน้าที่เป็นฟังก์ชั่นหลักในการทำงานในการประมวลผลโปรแกรมทุกครั้ง โปรแกรมจะทำการประมวลผลที่ฟังก์ชั่น  main()  เป็นฟังก์ชั่นแรก ซึ่งในการเขียนโปรแกรมภาษาซีทุกครั้ง
จะขาดฟังก์ชั่น  main()  ไม่ได้

                3.  ส่วนตัวโปรแกรม

                         ส่วนนี้เป็นส่วนในการเขียนคำสั่งต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียน
คำสั่งจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด  {   และเครื่องหมายปีกกาปิด   }   โดยปกติส่วนของการเขียนโปรแกรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ส่วนด้วยกัน คือ
                         1)  ส่วนของการประกาศตัวแปร  คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรม
                         2)  ส่วนของคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่นต่าง ๆ คือ ส่วนที่ใช้สำหรับในการพิมพ์คำสั่งและ
ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ซึ่งหลังจากพิมพ์ฟังก์ชั่นเสร็จแล้วจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ;  เสมอ
                4.  ส่วนของการเปิดโปรแกรมและปิดโปรแกรม

                         ตามโครงสร้างของภาษาซี จะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจบโปรแกรม โดยในที่นี้ใช้เครื่องหมายปีกกาเปิด  {   ในการระบุตำแหน่งการเริ่มต้นโปรแกรม และ ใช้เครื่องหมายปีกกาปิด  }
ในการระบุตำแหน่งการจบโปรแกรม

                5.  การกำหนดตำแหน่ง หมายเหตุ (Comment)

                         ในการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนสามารถเขียนส่วนคำอธิบาย หรือ หมายเหตุของโปรแกรมได้ ซึ่งส่วนของคำอธิบายหรือหมายเหตุดังกล่าว จะไม่ถูกแปลความหมายโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีในการเขียนคำอธิบาย หรือหมายเหตุ มี 2 แบบ คือ
                         1)  การกำหนดหมายเหตุ 1 บรรทัด
                              ในการกำหนดหมายเหตุ  1  บรรทัด  จะใช้เครื่องหมาย  //  ด้านหน้าข้อความที่ต้องการกำหนดหมายเหตุ  เช่น
                                 จากตัวอย่างข้างต้น คำสั่ง  printf  จะถูกแปลความหมายตามปกติ แต่ข้อความ  Show data  จะไม่ถูกแปลความหมาย เพราะเป็นส่วนของหมายเหตุ
                         2)  การกำหนดหมายเหตุหลายบรรทัด
                               ในการกำหนดหมายเหตุหลายบรรทัด จะใช้เครื่องหมาย  /*  ไว้ที่ตำแหน่งบรรทัดเริ่มต้น และ   */  ไว้ที่ตำแหน่งบรรทัดสุดท้าย หมายเหตุ  เช่น
                                จากตัวอย่างข้างต้น บรรทัดที่เริ่มต้นด้วย  /*  จะเป็นส่วนเริ่มต้นหมายเหตุ และคอมพิวเตอร์จะไม่แปลความหมายจนถึงบรรทัดที่ปิดท้ายด้วย   */   หลังจากบรรทัดดังกล่าว คอมพิวเตอร์ถึงจะทำการแปลความหมาย