Open top menu
#htmlcaption1 ยินดีต้อนรับ วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษา C โดยใช้โปรแกรม Devc++
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อมูลและชนิดของข้อมูล

ชนิดข้อมูลพื้นฐาน    มีด้วยกัน  5  ประเภท  คือ

                         1)  char  (1  ไบต์)
                         2)  int     (2  ไบต์)
                         3)  float  (4  ไบต์)
                         4)  double  (8  ไบต์)
                         5)  void   (0  ไบต์)


ตารางแสดงชนิดข้อมูลพื้นฐานของภาษาซี
ชนิดข้อมูล
ความหมาย
ไบต์ (bytes)
พิสัย (range)
char
int
float
double
void
อักษรหรืออักขระ
จำนวนเต็ม
จำนวนจริง (เลขทศนิยม)
จำนวนจริงละเอียด 2 เท่า
ไม่ให้ค่าใด ๆ
1
2
4
8
0
-128 ถึง 127
-32,768 ถึง 32,767
3.4E + 38(7 ตำแหน่ง)
1.7E + 308 (15 ตำแหน่ง)
ไม่ให้ค่า

             ชนิดข้อมูลในตารางด้านบนนั้น ตัวแปรจะมี  4  ประเภทเท่านั้นที่สามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้เพื่อ
ความคล่องตัว และสามารถเก็บข้อมูลนอกเหนือจากนี้ได้  ในภาษาซีจึงได้สร้างตัวแปรชนิดข้อมูลแบบ
  คิดเครื่องหมาย (signed) ,  ไม่คิดเครื่องหมาย (unsigned) , ยาว (long)  และ สั้น (short) เพิ่มเติมขึ้นมา
ดังตารางด้านล่าง
ตารางแสดงชนิดของตัวแปรในภาษาซี
ชนิดข้อมูล
ความหมาย
ไบต์ (bytes)
พิสัย (range)
char
คิดเครื่องหมาย
1
-128 ถึง 127
int
คิดเครื่องหมาย
2
-32,768 ถึง 32,767
short
คิดเครื่องหมาย
2
-32,768 ถึง 32,767
short int
คิดเครื่องหมาย
2
-32,768 ถึง 32,767
long
คิดเครื่องหมาย
4
-2,147,483,648 ถึง
2,147,483,647
long int
คิดเครื่องหมาย
4
-2,147,483,648 ถึง
2,147,483,647
Unsigned Char
ไม่คิดเครื่องหมาย
1
0  ถึง  255
 Unsigned
ไม่คิดเครื่องหมาย
2
0  ถึง  65,535
Unsigned int
ไม่คิดเครื่องหมาย
2
0  ถึง  65,535
Unsigned short
ไม่คิดเครื่องหมาย
2
0  ถึง  65,535
Unsigned Long
ไม่คิดเครื่องหมาย
4
0  ถึง  4,294,967,295
Unsigned Char
คิดเครื่องหมาย
1
-128  ถึง  127
signed
คิดเครื่องหมาย
2
-32,768 ถึง 32,767
signed  int
คิดเครื่องหมาย
2
-32,768 ถึง 32,767
signed  short
คิดเครื่องหมาย 
2
-32,768 ถึง 32,767
signed  Long
คิดเครื่องหมาย 
4
-2,147,483,648 ถึง
2,147,483,647

             คำสงวนในภาษาซี

                   คำสงวน หมายถึง คำที่สงวนไว้สำหรับเรียกใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เฉพาะ
เช่น  คำที่ใช้ในคำสั่งควบคุม และชนิดของข้อมูล เป็นต้น คำสงวนของภาษาซี  เช่น                      

auto
break
case
char
const
continue


default
do
double
else
enum
extern


float
far
goto
if
int
long


register
return
short
signed
sizeof
static


struct
switch
typedef
union
unsigned
void


volatile
while
 ตัวแปร (Variables)  
               คือ ชื่อเรียกแทนพื้นที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ การกำหนดตัวแปรทำได้ 2 แบบ คือ
              1)  กำหนดไว้นอกกลุ่มคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่น  เรียกตัวแปรนี้ว่า Global Variable  กำหนดไว้นอกฟังก์ชั่น ใช้งานได้ทั้งโปรแกรม มีค่าเริ่มต้นเป็น 0 (กรณีไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้น)
              2)  กำหนดไว้ในกลุ่มคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่น  เรียกตัวแปรนี้ว่า  Local Variable  กำหนดไว้ภายในฟังก์ชั่น ใช้งานได้ภายในฟังก์ชั่นนั้น และไม่ถูกกำหนดค่าเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ
              การประกาศตัวแปร  มีลักษณะดังนี้
              กฎในการตั้งชื่อตัวแปร   มีดังนี้
               1. ประกอบด้วยตัวอักษร  ตัวอักษรปนเลข  หรือปนเครื่องหมาย underscore ( _ ) ได้
               2. ตัวแรกจะต้องเป็นตัวอักษรหรือเครื่องหมาย underscore ( _ )  เท่านั้น
               3. ถ้าใช้  underscore เป็นส่วนของชื่อจะต้องอยู่ระหว่างตัวอักษรหรือตัวเลขเสมอ
               4. มีความยาวได้ตั้งแต่  1  ตัวอักขระ ไปจนถึง 32 ตัวอักขระ (เฉพาะเทอร์โบซ แต่บางเครื่องอาจได้น้อยหรือมากกว่านี้)
               5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved word)
               6. ชื่อที่ตั้งขึ้นแล้ว เขียนเป็นตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือตัวพิมพ์ใหญ่ปนตัวพิมพ์เล็ก จะถือว่าเป็นคนละชื่อกันหมด เช่น  count, COUNT, Count  จะถือเป็น 3 ชื่อตัวแปรที่แตกต่างกัน
ชื่อตัวแปรที่ถูก
ชื่อตัวแปรที่ผิด
Count
Num12
m_mum
1count
num !
m..mun

   ข้อสังเกต   การกำหนดชนิดของตัวแปร มีสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่  2  ประการ  คือ  ตัวแปรนั้นจะต้องสามารถรับค่าได้ทุกค่า โดยไม่เกินขอบเขตของข้อมูลชนิดนั้น และตัวแปรจะต้องไม่ใช้หน่วยความจำมากเกินความจำเป็น เช่น ถ้าข้อมูลไม่เกินขอบเขตของ  int  ก็ไม่ควรกำหนดตัวแปรให้เป็น  float

  ค่าคงที่ (Constant)  
               ค่าคงที่ (Constant) คือ ค่าของข้อมูลที่มีจำนวนแน่นอน เป็นค่าที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขณะรันโปรแกรม
                การระกาศค่าคงที่   มีลักษณะดังนี้
                 ตัวอย่าง   const  float  Pi = 3.1415;  
                                 
หมายความว่า Pi เป็นค่าคงที่ชนิด  float ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.1415
        การประกาศค่าคงที่ แบ่งตามชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้
              1) ค่าคงที่ชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม  (integer  constant)
                        ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มซึ่งอาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบก็ได้  เช่น  0, 9, 85, -698, 1832, -2080  เป็นต้น  โดยตัวเลขจำนวนเต็มที่จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  -32768  ถึง  32767  เท่านั้น  บางครั้งเรานิยมเรียกค่าคงที่ชนิดนี้ว่าค่าคงที่  int  (integer)
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  int  นี้ภายในหน่วยความจำ  จะใช้เนื้อที่  2  bytes  นอกจากนี้ยังสามารถเขียนค่าคงที่ชนิดนี้ให้อยู่ในรูปแบบตัวเลขฐานแปดและฐาน สิบหกได้  โดยใช้ตัวเลขศูนย์  (0)  นำหน้าแล้วตามด้วยเลขฐานแปดที่ต้องการหรือจะใช้ตัวเลขศูนย์เอ็กซ์  (0x  หรือ 0X)  นำหน้าแล้วตามด้วยเลขฐานสิบหกที่ต้องการ  เช่น  046,  027,  0xBD,  0X1BCF  เป็นต้น
            2) ค่าคงที่ชนิดตัวเลขทศนิยม  (floating  point  constant)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม  ซึ่งอาจจะมีเครื่องหมายบวก  หรือลบก็ได้  หรือเป็นตัวเลขที่สามารถเขียนอยู่ในรูป  E  ยกกำลังได้  เช่น  3.0,  0.234,  -0.54,  4E-06,  1.675E+10  เป็นต้น  โดยตัวเลขทศนิยมนี้จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  1.2E-38  ถึง  3.4E+38  เท่านั้น
                      สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  float  นี้จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  4  bytes  โดยที่  3  bytes  แรกจะเก็บค่าตัวเลขทศนิยม  ส่วนอีก  1  bytes  สุดท้ายจะเก็บค่ายกกำลังเอาไว้

            3) ค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่มีความละเอียดสองเท่า  (double  floating  point)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้นิยมเรียกว่า  ค่าคงที่แบบ  double  ซึ่งจะสามารถเก็บตัวเลขทศนิยมที่มีค่าอยู่ในช่วง  2.2E-308  ถึง  1.8E+308  เท่านั้น
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  double  นี้  จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  8  bytes  โดยใช้  7  bytes  แรกเก็บค่าตัวเลขทศนิยม  ส่วนอีก  1  bytes  สุดท้ายจะเก็บค่ายกกำลังเอาไว้  เช่นเดียวกับค่าคงที่ชนิด  float 
            4) ค่าคงที่ชนิดตัวอักขระตัวเดียว  (single  character  constant)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้จะสามารถเก็บตัวอักขระได้เพียง  1  ตัวอักขระ  โดยอยู่ภายในเครื่องหมาย ‘ ’  (single  quotation)  เช่น  ‘5’,  ‘X’,  ‘c’  เป็นต้น
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  single  character  constant  จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  1  bytes 
            5) ค่าคงที่ชนิดข้อความ  (strings  constant)  
                        ค่าคงที่ชนิดนี้จะเก็บตัวอักขระที่มีความยาวตั้งแต่  1  ตัวขึ้นไป  โดยจะเก็บอยู่ในรูปของข้อมูลอะเรย์  (arrays)  ซึ่งในแต่ละตัวอักขระจะใช้เนื้อที่ในการเก็บ  1  bytes เรียงติดต่อกันไปจนกระทั้งจบข้อความ  และใน  byte  สุดท้ายจะเก็บ  \0  (null  character)  เอาไว้เพื่อเป็นการบอกว่า  จบข้อความแล้ว  การเขียนค่าคงที่ชนิดข้อความจะต้องเขียนอยู่ภายในเครื่องหมาย  “……”  (double  quotation)  เช่น  “X”,  ”computer”,  “4567”, “c”  เป็นต้น
            ตัวอย่าง   แสดงการเก็บข้อมูลชนิดข้อความ  คำว่า  “COMPUTER”  ภายในหน่วย
                       ความจำ  จะมีลักษณะดังนี้

แส
ดงการเก็บข้อมูลชนิดข้อความคำว่า  “COMPUTER”  ภายในหน่วยความจำ




อ่านต่อ>>
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
เรื่องผังงานและโครงสร้างของภาษา c

สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนผังงาน
ความหมายของผังงาน
          ผังงาน (Flowchart)  คือแผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่าขั้นตอนนั้น ๆ  มีลักษณะการทำงานแบบใด  และแต่ละขั้นตอนจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยลูกศรเพื่อแสดงลำดับการทำงาน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าในการทำงานนั้น ๆ  มีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร
 
ประโยชน์ของผังงาน
1. ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใด ๆ
    ได้อย่างรวดเร็ว
2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบ
    ไม่สับสน นอกจากนี้ผังงานยังเป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแแกรม
    กล่าวคือ จากผังงานเดียวกันสามารถนำไปเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ได้
 
ประเภทของผังงาน
1. ผังงานระบบ (System flowchart)  เป็นผังงานซึ่งแสดงขอบเขต  และลำดับขั้นตอนการทำงานของ ระบบหนึ่ง ๆ รวมทั้งแสดงรูปแบบของข้อมูลนำเข้า (input)  และข้อมูลออก (output) ว่าถูกรับเข้าหรือแสดงผลโดยผ่านสื่อประเภทใด เนื่องจากผังงานระบบเป็นแผนภาพที่แสดงถึงระบบโดยรวม ดังนั้นกระบวนการหรือ โปรแกรมหนึ่ง ๆ  อาจถูกแสดงเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในผังงานระบบเท่านั้น
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)  เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
          การเขียนผังงาน เป็นการเขียนแผนภาพเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงาน โดยนำภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในการเขียนผังงานนั้น หน่วยงานที่ชื่อว่า American National Standards Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) ได้ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงานดังแสดงในตาราง
โครงสร้างของภาษาซี       
                      ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน ซึ่งมีรูปแบบของโครงสร้างโปรแกรม ดังนี้

รูปแสดงโครงสร้างของภาษาซี  
                1.  ส่วนของการประกาศส่วนหัวของโปรแกรม

                         หรือที่เรียกว่า เฮดเดอร์ไฟล์ (Header File) เป็นการเรียกใช้เฮดเดอร์ไฟล์เข้ามาร่วมใช้งานภายในโปรแกรม โดยไฟล์เฮดเดอร์เป็นไฟล์ที่ใช้ในการรวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้ เช่น ภายในเฮดเดอร์ไฟล์  stdio.h  เป็นไฟล์เฮดเดอร์ที่รวบรวมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นมาตรฐานทางด้านการรับข้อมูล (Input)  และแสดงผลข้อมูล (Output) ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่น printf( );  เป็นฟังก์ชั่นในการแสดงผลข้อมูล ซึ่งบรรจุอยู่ในไฟล์  stdio.h  เป็นต้น

                2.  ส่วนของชื่อฟังก์ชั่น

                         ในที่นี้ ฟังก์ชั่นที่กำหนดขึ้นมาชื่อฟังก์ชั่น  main()  โดยทุกโปรแกรมจะต้องมี
ฟังก์ชั่น  main() ทำหน้าที่เป็นฟังก์ชั่นหลักในการทำงานในการประมวลผลโปรแกรมทุกครั้ง โปรแกรมจะทำการประมวลผลที่ฟังก์ชั่น  main()  เป็นฟังก์ชั่นแรก ซึ่งในการเขียนโปรแกรมภาษาซีทุกครั้ง
จะขาดฟังก์ชั่น  main()  ไม่ได้

                3.  ส่วนตัวโปรแกรม

                         ส่วนนี้เป็นส่วนในการเขียนคำสั่งต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียน
คำสั่งจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด  {   และเครื่องหมายปีกกาปิด   }   โดยปกติส่วนของการเขียนโปรแกรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ส่วนด้วยกัน คือ
                         1)  ส่วนของการประกาศตัวแปร  คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรม
                         2)  ส่วนของคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่นต่าง ๆ คือ ส่วนที่ใช้สำหรับในการพิมพ์คำสั่งและ
ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ซึ่งหลังจากพิมพ์ฟังก์ชั่นเสร็จแล้วจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ;  เสมอ
                4.  ส่วนของการเปิดโปรแกรมและปิดโปรแกรม

                         ตามโครงสร้างของภาษาซี จะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจบโปรแกรม โดยในที่นี้ใช้เครื่องหมายปีกกาเปิด  {   ในการระบุตำแหน่งการเริ่มต้นโปรแกรม และ ใช้เครื่องหมายปีกกาปิด  }
ในการระบุตำแหน่งการจบโปรแกรม

                5.  การกำหนดตำแหน่ง หมายเหตุ (Comment)

                         ในการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนสามารถเขียนส่วนคำอธิบาย หรือ หมายเหตุของโปรแกรมได้ ซึ่งส่วนของคำอธิบายหรือหมายเหตุดังกล่าว จะไม่ถูกแปลความหมายโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีในการเขียนคำอธิบาย หรือหมายเหตุ มี 2 แบบ คือ
                         1)  การกำหนดหมายเหตุ 1 บรรทัด
                              ในการกำหนดหมายเหตุ  1  บรรทัด  จะใช้เครื่องหมาย  //  ด้านหน้าข้อความที่ต้องการกำหนดหมายเหตุ  เช่น
                                 จากตัวอย่างข้างต้น คำสั่ง  printf  จะถูกแปลความหมายตามปกติ แต่ข้อความ  Show data  จะไม่ถูกแปลความหมาย เพราะเป็นส่วนของหมายเหตุ
                         2)  การกำหนดหมายเหตุหลายบรรทัด
                               ในการกำหนดหมายเหตุหลายบรรทัด จะใช้เครื่องหมาย  /*  ไว้ที่ตำแหน่งบรรทัดเริ่มต้น และ   */  ไว้ที่ตำแหน่งบรรทัดสุดท้าย หมายเหตุ  เช่น
                                จากตัวอย่างข้างต้น บรรทัดที่เริ่มต้นด้วย  /*  จะเป็นส่วนเริ่มต้นหมายเหตุ และคอมพิวเตอร์จะไม่แปลความหมายจนถึงบรรทัดที่ปิดท้ายด้วย   */   หลังจากบรรทัดดังกล่าว คอมพิวเตอร์ถึงจะทำการแปลความหมาย

อ่านต่อ>>
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558
    ตัวดำเนินการ (Operator)

                             

                                ตัวดำเนินการ (Operator)




 ตัวดำเนินการ (Operator)

               ตัวดำเนินการ(Operator) ในการเขียนโปรแกรมภาษาซี มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
                1)  ตัวคำนวณทางคณิตศาสตร์ (arithmetic operators)
                2)  ตัวดำเนินการทางตรรกะ (logical operator)
                3)  ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (relational operator)
                ซึ่งการดำเนินการแต่ละประเภทจะมีเครื่องหมายที่ต้องใช้เพื่อเขียนคำสั่ง สำหรับการดำเนินการประเภทนั้น ๆ ดังรายละเอียด
               ตัวคำนวณทางคณิตศาสตร์ (arithmetic operators)
                   เป็นตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ เครื่องหมายที่ใช้ในการบวก ลบ คูร หาร ตัวเลข และอื่น ๆ ดังตาราง
ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
+
การบวก
X + Y
-
การลบ
X - Y
*
การคูณ
X * Y
/
การหาร
X / Y
%
การหารจะเอาเฉพาะเศษไว้
11%3=3 เศษ 2 ดังนั้น 2 เป็นผลลัพธ์
- -
การลดค่าลงครั้งละ 1
X-- หรือ --X เหมือนกับ X=X-1
++
การเพิ่มค่าครั้งละ 1
X++ หรือ ++X เหมือนกับ X=X+1
ตารางแสดงตัวดำเนินการของภาษาซี

                   ขั้นตอนการทำงานของตัวดำเนินการในซี
                     ในบางครั้งนิพจน์ประกอบด้วยตัวดำเนินการมากมาย ทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิจารณาขั้นตอนการทำงานของตัวดำเนินการ จึงได้ตั้งกฎเกี่ยวกับลำดับการทำงานก่อนหลังของตัวดำเนินการ (Operator) ดังตาราง
ตัวดำเนินการ
ตัวอย่าง
( )
1 (สูงสุด)
++   --   unary
2
*    /    %
3
+   -
4
+=     -=     *=     =     /=     %=
5 (ต่ำสุด)
ตารางแสดงลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ

                       ตัวดำเนินการที่มีความสำคัญอยู่ในระดับเดียวกัน ให้ทำงานตามขั้นตอนจากซ้ายไปขวาเป็นหลัก  ดังตัวอย่างในตาราง
     ตัวอย่าง
     5 + 6 * 2
     ตัวดำเนินการ  *  อยู่ลำดับสูงกว่า  +  จึงต้องคูณเลข
      ก่อนแล้วบวก 5 ภายหลัง
     2  *  3  -  14/7  +  5
     ตัวดำเนินการ  *  และ  /  อยู่ลำดับเดียวกัน ให้ทำจาก
      ซ้ายไปขวา คือ คูณเลข แล้วหารเลข

     ตัวดำเนินการ  -  และ  +  อยู่ลำดับเดียวกัน ทำจาก
      ซ้ายมือก่อน คือ ลบเลข แล้วจึงบวกเลขในภายหลัง
ตารางแสดงลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ

               ตัวคำนวณทางตรรกะ (logical operators)
                   เครื่องหมายรรกะ มีจุดประสงค์ใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ   
                   เครื่องหมายตรรกะที่ใช้ในภาษาซี  มีดังนี้
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
&&
และ
 x < 60 && x > 50  กำหนดให้  x  มีค่าในช่วง 50 ถึง 60
||
หรือ
 x = = 10 || x = = 15 กำหนดให้ x มีค่าเท่ากับตัวเลข 2 ค่า
 คือ  10  หรือ  15
!
ไม่
 x = 10  !x  กำหนดให้  x  ไม่เท่ากับ  10

                 ตัวคำนวณเปรียบเทียบ (relational operators)
                   ใช้เปรียบเทียบค่า 2 ค่า เพื่อแสดงการเลือก ซึ่งโปรแกรมโดยทั่วไปใช้ในการทดสอบ
เงื่อนไขตามที่กำหนด การเปรียบเทียบโดยการเท่ากันของ 2 ค่า จะใช้เครื่องหมาย ==
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
>
มากกว่า
  a > b      a  มากกว่า  b
>==
มากกว่า หรือ เท่ากับ
  a >= b    a  มากกว่าหรือเท่ากับ  b
<
น้อยกว่า
  a < b      a  น้อยกว่า  b
<==
น้อยกว่า หรือ เท่ากับ
  a <= b    a  น้อยกว่าหรือเท่ากับ  b
==
เท่ากับ
  a == b      a  เท่ากับ  b
!=
ไม่เท่ากับ
  a != b      a  ไม่เท่ากับ  b

  นิพจน์ (Expression)
               นิพจน์(Expression) คือ  การนำตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการมาเขียนประกอบกัน โดยใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวเชื่อม และเพื่อให้ตัวแปรภาษาสามารถเข้าใจและคำนวณหาผลลัพธ์ได้ตามที่เราต้องการ โดยมีกฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปในการเขียนนิพจน์ของภาษาซี มีดังนี้
               1)  เขียนตัวอักษรหลายตัวติดกันได้โดยไม่มีเครื่องหมายคั่น เช่น  XY ถือเป็น 1 ตัวแปร
               2)  กรณีนิพจน์มีค่าของตัวแปรหรือค่าคงที่ต่างชนิดกันในนิพจน์เดียวกัน กลไกของภาษาซี จะเปลี่ยนชนิดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กให้เป็นชนิดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงควรระวังในการตั้งตัวแปรเพื่อเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการของนิพจน์มีค่าของตัวแปรหรือค่าคงที่ต่างชนิดกัน ซึ่งตัวแปรที่ตั้งขึ้น ควรเป็นชนิดของข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในนิพจน์นั้น ดังตัวอย่าง
                   หากนิพจน์มี  int  กับ  long  กลไกของภาษาซีจะเปลี่ยนชนิดของข้อมูลเป็น  long
                   หากนิพจน์มี  int  กับ  double กลไกของภาษาซีจะเปลี่ยนชนิดของข้อมูลเป็น  double
         ตัวอย่างนิพจน์
นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ตามปกติ
นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในภาษาซี
x + y - z
x + y - z
2xy + 4z
2 * x * y + 4 * z
x2 + 2x + 1
x * x + 2 * x + 1
2r
2 * r
(a - b) / (c - d)
b - 4ac
b * b - 4 * a * c
x * x / (x * y + 2)

cradit:http://www.krujintana.com
อ่านต่อ>>
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558
 ตัวชี้วัดและสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ พึงปฏิบัติได้


ตัวชี้วัดและสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ พึงปฏิบัติได้
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
ตัวชี้วัดที่
สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ พึงปฏิบัติได้
3.1 ม.4 – 6/5
แก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ม.4 – 6/6
เขียนโปรแกรมภาษา
3.1 ม.4 – 6/7
พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
3.1 ม.4 – 6/9
ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
3.1 ม.4 – 6/10
ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
อ่านต่อ>>
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558
ทบทวนก่อนสอบปลายภาค

 https://drive.google.com/file/d/0B6w80KmwQ9xfcnJ6Sk1rZTU1Unc/view?usp=sharing


วิดีโอทบทวนตัวดำเนินการ




วิดีโอทบทวนคำสั่ง if 



วิดีโอทบทวนคำสั่ง if else



วิดีโอทบทวนคำสั่ง if else if




อ่านต่อ>>